“ปัญหา ผมบาง ศีรษะล้าน” เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ร่วมกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อาการเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพ แต่มักส่งผลต่อสภาพจิตใจ บุคลิกภาพและความมั่นใจในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะแสดงออกมาในลักษณะของแนวไรผมที่ร่นถอยไปด้านหลัง [เว้าตัวเอ็ม] และความหนาแน่นของผมที่บางลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่วัยหนุ่ม และจะเด่นชัดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น
เคยสังเกตไหมว่าทำไมใครต่อใครที่มีปัญหา ผมบาง ศีรษะล้าน ผมถึงบางหายไปแค่บริเวณด้านหน้าและกลางศีรษะ แต่ยังมีผมบริเวณท้ายทอยอยู่ นั่นก็เพราะว่าผมที่อยู่บริเวณท้ายทอยหรือหลังกกหูนั้นไม่มีตัวรับสัญญาณฮอร์โมน DHT ที่มีผลทำให้ผมบางลงนั่นเอง และวันนี้หมอก็จะพาไปรู้จักกับเจ้าตัวฮอร์โมนนี้เช่นกัน !
สาเหตุของปัญหาผมจากพันธุกรรมในผู้ชายนั้นเกิดจากฮอร์โมนตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Dihydrotestosternoe หรือที่รู้จักกันในชื่อ ฮอร์โมน DHT ซึ่งฮอร์โมนนี้จะทำให้ผมเข้าสู่ระยะฝ่อและระยะหลุดร่วงไวขึ้น ผมงอกใหม่ช้าลง โดยผมเดิมที่เส้นใหญ่ จะมีลักษณะเส้นบางลง เล็กลง และสั้นลง จนเซลล์รากผมฝ่อหายไปในที่สุด เมื่อเวลาผ่านไปก็จะเริ่มสังเกตได้ว่าผมบางลงและนำไปสู่ศีรษะล้าน
สังเกตได้ชัดตรงบริเวณเว้าตัวเอ็มด้านหน้า จะเริ่มมีอาการเถิกสูงขึ้นไปและบริเวณต่อมา คือกลางศีรษะจะเริ่มบางลง โดยลักษณะผมบางแบบนี้นี่เองที่เราเรียกกันว่า “ผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมน”
ถ้าไม่อยากรักษาเอาตอนสายหมอแนะนำโปรแกรมนี้ คลิ๊กเลย
“เรื่องผมยิ่งรักษาเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี”
ปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผม ฟรี ! ไม่มีค่าใช้จ่าย
LINE : @drornclinic